เศรษฐกิจพอเพียง ศาสตร์พระราชาซึ่งเกี่ยวกับการพอเพียง 🌾
เศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง ปรัชญา ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงชี้แนะแนวทางการดำเนินชีวิตและการปฏิบัติ แก่ประชาชน โดยยึดหลัก “ทางสายกลาง” ท่ามกลางมรสุมเศรษฐกิจที่ต้องเผชิญอยู่ในปัจจุบัน
ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้
๑. ความพอประมาณ หมายถึง
ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น
การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
๒. ความมีเหตุผล หมายถึง
การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล
โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ
อย่างรอบคอบ
๓. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง
การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
เงื่อนไข
๑. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน
เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
๒. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง
ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน
มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
บริโภคอย่างพอเพียง
บริโภคพอประมาณ ข้าว
กับข้าวและเครื่องเคียงต่างๆในจานอาหารแต่ละมื้อ
ควรบริโภคให้รู้สึกอิ่มไม่เกินสามในสี่ส่วนของจาน จึงจะเป็นผลดีต่อสุขภาพ
ลดโอกาสเกิดโรคอ้วน และทำให้ประหยัดค่าอาหารด้วย
เลือกของที่ดีมีคุณภาพมาบริโภค
การบริโภคอาหารสดใหม่จากฟาร์ม
นอกจากช่วยให้เราได้สารอาหารที่มีคุณค่าสมบูรณ์ตามหลักการทางโภชนาการแล้ว
ยังช่วยให้เกษตรกรมีกำลังใจและมีรายได้เลี้ยงดูครอบครัวสอดคล้องกับ
หลักเศรษฐกิจพอเพียง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น